เด็กหญิงอรุโณทัย จันทรมิต เลขที่ 35 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/8 โครงการSMAP โรงเรียนพิมานพิทยาสรรค์ จังหวัดสตูล
วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
เชื้อรา
วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
กานพลู
กานพลู (อังกฤษ: Clove)
เป็นไม้ยืนต้น สูง 5 - 10 เมตร ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม รูปวงรีหรือรูปใบหอก
กว้าง 2.5 - 4 ซม. ยาว 6 - 10 ซม. ขอบเป็นคลื่น ใบอ่อนสีแดงหรือน้ำตาลแดง
เนื้อใบบางค่อนข้างเหนียว ผิวมัน ดอกช่อ ออกที่ซอกใบ
กลีบดอกสีขาวและร่วงง่าย กลีบเลี้ยงและฐานดอกสีแดงหนาแข็ง ผลเป็นผลสด
รูปไข่
ประโยชน์
ในตำรายาไทย ใช้ดอกตูมแห้งแก้ปวดฟัน
โดยใช้ดอกแช่เหล้าเอาสำลีชุบอุดรูฟัน และใช้ขนาด 5 - 8 ดอก ชงน้ำเดือด
ดื่มเฉพาะส่วนน้ำหรือใช้เคี้ยวแก้ท้องเสีย ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ
นอกจากนี้ใช้ผสมในยาอมบ้วนปากดับกลิ่นปาก
พบว่าในน้ำมันหอมรเหยที่กลั่นจากดอกมีสาร eugenol
ซึ่งมีฤทธิ์เป็นยาชาเฉพาะที่ จึงใช้แก้ปวดฟัน
และมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ ทำให้เกิดอาการปวดท้องลดลง ช่วยขับน้ำดี
ลดอาการจุกเสียดที่เกิดจากการย่อยไม่สมบูรณ์ และสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียหลายชนิดเช่น เชื้อโรคไทฟอยด์ บิดชนิดไม่มีตัว เชื้อหนองเป็นต้น นอกจากนี้ยังกระตุ้นให้มีการหลั่งเมือก และลดการเป็นกรดในกระเพาะอาหารด้วยน้ำมันสกัดจากกานพลูความเข้มข้น 30 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรสามารถยับยั้งการเจริญของ Lactococcus garvieae ในอาหารเลี้ยงเชื้อได้ เมื่อนำอาหารปลาที่ผสมน้ำมันกานพลูในอัตราส่วน 3% (w/w) มาเลี้ยงปลานิล ทำให้จำนวนการตายเนื่องจากการติดเชื้อ L. garvieae ในปลานิลลดน้อยลง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)