อุตสาหกรรมขนมหวาน ( Dessert Industry ) วุ้นนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการทำขนมหวานหลายชนิด วุ้นมะพร้าวอ่อน วุ้นกะทิ วุ้นกาแฟ ฯลฯ เป็นตัวทำให้เกิด gel และเป็นตัวชลอการตกผลึกของน้ำตาล ช่วยให้ emulsion คงตัวและกระจายตัวสม่ำเสมอ ช่วยให้ฟองมีความคงตัวด้วย ใช้ในผลิตภัณฑ์ Bakery, Cake ที่มี Icing เช่น โดนัท ใช้ Agar เป็นตัวจับ free water ในผลิตภัณฑ์ เพื่อไม่ให้ icing หรือน้ำตาลบนผิวหน้าของผลิตภัณฑ์หลอมละลายและเหนียวติดกับวัสดุที่ห่อผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะทำให้ผิวหน้าของผลิตภัณฑ์เสียไป
อุตสาหกรรมอาหาร ( Food Industry ) ในผลิตภัณฑ์เนื้อ และสัตว์ปีก จะมีการใช้วุ้นเป็นวัตถุเจือปนอาหารเพื่อช่วยปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ เช่น ช่วยให้มีลักษณะเนื้อสัมผัส ความสามารถในการอุ้มน้ำ สี และกลิ่นรสของผลิตภัณฑ์ดีขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์เนื้อและไก่กระป๋อง จะมีการใช้วุ้นช่วยป้องกันการเละยุ่ยของลักษณะเนื้อสัมผัส และช่วยให้ผลิตภัณฑ์เนื้อบดต่างๆมีการจับตัวกันได้ดียิ่งขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์ปลากระป๋อง ตัววุ้นจะช่วยรักษาคุณภาพของเนื้อปลาไม่ให้เกิดความเสียหาย จากการถูกกระทบกระแทกระหว่างการขนส่ง นอกจากนั้น Diet food อาจใช้วุ้นจาก Agar ช่วยให้อิ่มได้โดยไม่ให้อ้วน เพราะคุณสมบัติที่เป็น Hydrocolloid ของ Agar เอง
อุตสาหกรรมนม ( Milk and Related Industry ) ผลิตภัณฑ์นมชนิดต่างๆ ซึ่งรวมถึงผลิตภัณฑ์ประเภทไอศครีม Sherbets เนยแข็ง และผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ มีการใช้วุ้นเป็นส่วนประกอบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความคงตัว และช่วยให้ผลิตภัณฑ์มีลักษณะเนื้อสัมผัสดีขึ้น ผลิตภัณฑ์นมเปรี้ยว เช่น โยเกิร์ต มีการใช้วุ้นเพื่อให้ข้นหนืด และในนมที่มีการใส่ chocholate วุ้นจะช่วยให้มีการแขวนลอยได้ดีขึ้น
อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ ( Pharmaceutical Industry ) คุณสมบัติของ gel เป็นสารคงความยืดหยุ่นและลื่น จึงนำ Agar มาใช้เป็นส่วนประกอบของยาระบาย (Laxative) เนื่องจาก Agar ช่วยทำให้เกิดกากอาหารในลำไส้ไม่ระคายเคืองต่อผนังลำไส้ และช่วยให้การบีบรัดตัวของผนังลำไส้ (Peristalsis) เป็นไปอย่างปกติ นอกจากนี้ยังใช้เป็นส่วนผสมของปลอกหุ้ม (Capsule) ของเม็ดยาด้วยและเป็นส่วนผสมของครีมโลชั่นทาผิว
อุตสาหกรรมทางจุลชีววิทยา ( Microbiological Industry ) มีการนำ Agar มาใช้อย่างแพร่หลายในด้านการเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์เพื่อตรวจเชื้อในห้องปฏิบัติการทางจุลชีววิทยา ในห้องทดลอง ตามโรงพยาบาลต่างๆยิ่งกว่านั้นอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงเชื้อใช้ในอุตสาหกรรมบำบัดน้ำเสีย หรือผลิตจุลินทรีย์เพื่อใช้แทนยาฆ่าแมลง ก็สามารถใช้ Agar อย่างได้ผลดียิ่ง
ลักษณะเด่นของวุ้นผง
- ถูกปากและเป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ จากการสุ่มตัวอย่างผู้เข้าชมงาุนแสดงสินค้า BOI Fair 2000 สำรวจคนจำนวน 3,045 คน พบว่านิยมรับประทานเนื้อวุ้น (Texture) เป็นจำนวนถึง 2,607 คน หรือคิดเป็นร้อยละ 86 จึงให้ความมั่นใจกับผู้ใช้ว่า เป็นวุ้นที่มีคุณภาพและสอดคล้องกับรสนิยมของคนในประเทศอย่างแท้จริง
- วุ้นผงอุ้มน้ำได้ดี Agar เป็นสาร Hydrocolloid ใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Tissue culture) วุ้นอุ้มน้ำได้ดีเป็นตัวกลางช่วยให้พืชตั้งลำต้นขึ้นตรงได้ดีกว่า แม้ในระยะเวลา 2 เดือนที่ต้นอ่อนเติบโตในขวด ระดับวุ้นยังใกล้เคียงสภาพเดิมมากกว่า โดยรากเติบโตในเนื้อวุ้นได้ดี ได้รับการสนับสนุนอย่างดีจากหน่วยงานและสถาบันต่างๆทั้งภาครัฐและภาคเอกชนอย่างกว้างขวาง
การทำขนมจากวุ้นผง
- ตวงน้ำ 6 กิโลกรัม (หรือน้ำ 6 ลิตร) เทลงในหม้อ
- เทวุ้น 1 ซอง (50 กรัม) ลงในน้ำเย็น จะเห็นวุ้นกระจายออกคนให้เข้ากัน
- ต้มให้เดือดพอควบคุมได้ ประมาณ 5-10 นาที จากน้ำจึงเทน้ำตาลลงไป 1 กิโลกรัม แต่งรสตามต้องการ
- ต้มต่อจนเดือด เคี่ยวจนน้ำตาลละลายหมด หรือถึงระดับตามที่ต้องการ จากนั้นจึงเทลงแบบ นำไปแช่เย็นก็จะได้วุ้นขนมคุณภาพที่อร่อยถูกปากที่สุด
Grade of Agar
- Food Grade AA เหมาะสำหรับทำขนมหรือเป็นส่วนประกอบในขนม
- Food Grade AAA เหมาะสำหรับทำขนมวุ้นที่ต้องการความใสบริสุทธิ์ของวุ้นเป็นพิเศษ
- Lab Grade AAA เหมาะสำหรับทำ วุ้นเพาะเชื้อ ทางห้องปฏิบัติการ หรือเพาะกล้วยไม้ ***ท่านที่ต้องการนำไปติด sticker บริษัทเอง OEM กรุณาแจ้งให้ทราบด้วยครับ
- Lab Grade Premium เหมาะสำหรับทำ วุ้นเพาะเชื้อ ทางห้องปฏิบัติการ หรือเพาะกล้วยไม้ ที่ต้องการความใสบริสุทธิ์ของวุ้นเป็นพิเศษ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น