วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำโครงงาน

เตาแก๊สปิคนิค
                                                        
เพลตเพาะเชื้อ
ผงวุ้น
บีกเกอร์
กรวยกรอง





















            









การนับเชื้อ

การนับโดยตรง (direct count) เป็นการนับจำนวนโดยตรงจากกล้องจุลทรรศน์ 
มีหลายวิธี  คือ
  1.1 การนับเชื้อแบคทีเรียที่ผ่านการตรึงและย้อมสี (stained film) วิธีนี้เป็นการนับเชื้อแบคทีเรีย ปริมาตร 0.01 มลที่ถูกตรึงและย้อมสีอยู่บนสไลด์ภายในพื้นที่ ตร.ซมวิธีนี้มีข้อดีตรงที่ทำง่าย รวดเร็ว ค่าใช้จ่ายในการวิเคราะห์ไม่แพง แต่มีข้อเสียตรงที่เป็นการนับจำนวนแบคทีเรียทั้งหมด (total count) ทั้งเซลล์ที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต นอกจากนี้ตัวอย่างที่จะตรวจนับต้องมีจำนวนเชื้อแบคทีเรียมาก
                   1.2 การนับเชื้อบนสไลด์ที่มี counting chamber  สไลด์ที่มี counting chamber ได้แก่
                         - Petroff – Hausser counting chamberนิยมใช้นับจำนวนแบคทีเรีย
                         - Haemacytometer ใช้นับ eucaryotic microbe ที่มีขนาดใหญ่
             สไลด์พวกนี้จะมีแอ่ง (chamber) ซึ่งรู้ความลึกของ chamber  และที่พื้นของ chamber จะมีตารางสี่เหลี่ยมซึ่งทราบความกว้างความยาวของตารางสี่เหลี่ยม   ดังนั้นเมื่อหยดเชื้อจุลินทรีย์ลงไปใน chamber ที่มี cover glass ปิดอยู่  ตรวจนับเชื้อจุลินทรีย์ด้วยกล้องจุลทรรศน์กำลังขยาย 400X ในสี่เหลี่ยมลูกบาศก์เล็ก  ก็จะทำให้สามารถคำนวณหาจำนวนเซลล์ต่อมล.ของตัวอย่างได้ สำหรับข้อดีข้อเสียของ counting chamber จะเหมือนกับนับด้วยวิธี stained film
                         - การนับเชื้อจุลินทรีย์ใช้กำลังขยาย objective lens 40X  
                         - ถ้าเป็นเชื้อแบคทีเรียให้นับช่องที่มีความยาวด้านละ 0.05 มม. และควรเจือจางให้มีแบคทีเรีย 1-10 เซลในแต่ละช่องเล็ก  และนับไม่ต่ำกว่า 10 ช่อง  
                         - ถ้าเป็นยีสต์หรือจุลินทรีย์ขนาดใหญ่ให้ใช้ช่องใหญ่ที่มีความยาวด้านละ 0.2 มม.
                         - การนับให้นับเฉพาะเซลที่แตะหรือทับด้านบนหรือด้านขวาของสี่เหลี่ยมจตุรัสแต่จะไม่นับเซลใดก็ตามที่แตะหรือทับด้านล่างและทางซ้ายมือของสี่เหลี่ยมจตุรัส

2.การนับจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ที่เพาะบนจานอาหาร (plate count)
              การนำอาหารเลี้ยงเชื้อที่ผสมวุ้น (agar media) มาใช้ตั้งแต่ปลายทศวรรษที่ 1800 ทำให้เกิดการพัฒนาวิธีการนับจำนวนจุลินทรีย์โดยการนับจำนวนโคโลนี  วิธีการดังกล่าวมีพื้นฐานจากข้อสมมติ อย่าง คือ        
                     1.เซลล์จุลินทรีย์หนึ่งเซลล์เจริญและแบ่งตัวเพื่อสร้างโคโลนีเดี่ยว  
                     2.เชื้อจุลินทรีย์เริ่มต้น(original inoculum) มีลักษณะเป็นเนื้อเดียวกัน (homogeneous)
                   3. ไม่มีเซลล์ใดๆที่อยู่รวมกัน (no aggregate) วิธีนี้ทำง่ายนับจำนวนได้ดีแม้ว่าจะมีจำนวนเชื้อจุลินทรีย์ต่ำ (sensitive) และนิยมใช้กันอย่างกว้างขวางทั้งจากตัวอย่างอาหาร น้ำ และดิน 

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

สูตรอาหารวุ้น(Potato Dextrose Agar)

สูตรอาหารวุ้น P.D.A. (Potato Dextrose Agar) ในการเตรียมอาหารวุ้นจำนวน  ลิตร จะมีส่วนประกอบต่างๆ ดังนี้
-มันฝรั่ง ๒๐๐-๓๐๐ กรัม
-น้ำตาลเด๊กโทรสหรือกูโคส ๒๐ กรัม
-วุ้น ๑๕ กรัม
-น้ำ  ลิตร
วิธีการเตรียมอาหาร
ต้มน้ำกลั่น น้ำฝน หรือน้ำจืดสะอาด ใส่มันฝรั่งที่ปลอกเปลือกล้างน้ำแล้วหั่นเป็นชิ้นขนาดกว้างxยาวxสูง ประมาณ xx เซนติเมตร ลงไป ต้มจนน้ำเดือด ใช้ไฟอ่อนๆ นาน ๑๕ นาที กรองเอาแต่น้ำ ใช้น้ำเย็นผสมกับวุ้นพอเปียกแล้วใส่วุ้นลงไป กวนให้ละลายจนหมด นำมาวัดปริมาตรแล้วเติมน้ำให้พอดี  ลิตร จากนั้นใส่น้ำตาลเด๊กโทรสหรือกูลโคสลงไป กวนให้ละลายจนหมดแล้วนำไปกรอกใส่ขวดต่อไป
การกรอกใส่ขวด นิยมใช้ขวดเหล้าแบนที่ล้างสะอาดและตากแห้งแล้วมากรอกอาหารวุ้น โดยใช้กรวยเล็กๆ กรอก ใส่อาหารวุ้นลงไปให้สูงจากพื้นก้นขวดประมาณ  นิ้ว ระมัดระวังไม่ให้อาหารเปื้อนปากขวด หากเปื้อนต้องใช้สะอาดเช็ดออกให้เกลี้ยงหรือถ่ายอาหารลงขวดใหม่
การอุดจุก ใช้สำลีปั้นเป็นจุกขนาดยาว  / -  นิ้ว ให้อุดปากขวดได้ไม่แน่นไม่หลวมมากจนเกินไป อุดให้ลึกเข้าไปในขวดประมาณ  นิ้ว ด้านนอกขวดประมาณ  นิ้ว ด้านนอกขวดประมาณ / -  นิ้ว ให้สามารถใช้นิ้วก้อยกับฝ่ายมือคีบจุกได้โดยสะดวก และจุกสำลีจะต้องมีความแข็งแรงพอสมควรเพราะในการเลี้ยงเชื้อบนวุ้น เวลาต่อเชื้อจะต้องทำการเปิดปิดจุกสำลีหลายครั้ง
การป้องกันสำลีเปียกขณะที่นึ่งฆ่าเชื้อ ควรใช้ฝาพลาสติกครอบจุกสำลีอย่างหลวมๆ หรือใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อหุ้มแล้วรัดด้วยหนังยาง เพื่อป้องกันไม่ให้สำลีเปียกขณะนึ่งฆ่าเชื้อ เพราะหากสำลีเปียกจะทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อราและบักเตรีได้ง่าย

วันอาทิตย์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วุ้น (Agar)

วุ้น เป็นสารประกอบ Hydrocolloids ได้จากการสกัดสาหร่ายแดง Gracilaria หน่วยย่อยพื้นฐานของวุ้นเป็นสารประกอบ Polysaccharide กลุ่ม Galactose  วุ้น (AGAR) มีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำ ให้สารคงรูปที่มีลักษณะแข็ง ยืดหยุ่น ที่เรียกว่า Gel เมื่อ Gel ได้รับความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 85 องศาเซลเซียส ก็จะหลอมละลายอยู่ในรูปของเหลว แต่สามารถย้อนกลับมาอยู่ในรูป Gel อีกครั้ง เมื่ออุณหภูมิลงมาที่ 35-40 องศาเซลเซียส ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าวทำให้ Agar เข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในอุตสาหกรรมด้านต่างๆ
อุตสาหกรรมขนมหวาน ( Dessert Industry )  วุ้นนำมาใช้อย่างกว้างขวางในการทำขนมหวานหลายชนิด วุ้นมะพร้าวอ่อน วุ้นกะทิ วุ้นกาแฟ ฯลฯ เป็นตัวทำให้เกิด gel และเป็นตัวชลอการตกผลึกของน้ำตาล ช่วยให้ emulsion คงตัวและกระจายตัวสม่ำเสมอ ช่วยให้ฟองมีความคงตัวด้วย ใช้ในผลิตภัณฑ์ Bakery, Cake ที่มี Icing เช่น โดนัท ใช้ Agar เป็นตัวจับ free water ในผลิตภัณฑ์ เพื่อไม่ให้ icing หรือน้ำตาลบนผิวหน้าของผลิตภัณฑ์หลอมละลายและเหนียวติดกับวัสดุที่ห่อผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะทำให้ผิวหน้าของผลิตภัณฑ์เสียไป

น้ำกลั่น


น้ำกลั่น คือน้ำที่ระเหยกลายเป็นไอ เมื่อถูกความร้อน โดยที่สิ่งที่เจือปนอยู่ในน้ำจะไม่ระเหยไปพร้อมกับไอน้ำนั้น และเมื่อไอน้ำกระทบกับความเย็นก็จะเกิดการควบแน่นเปลี่ยนสถานะจากไอกลายเป็นหยดน้ำอีกครั้ง ดังนั้นน้ำที่ได้จากขบวนการกลั่นจึงเป็นน้ำบริสุทธิ์ ปราศจากการปนเปื้อน ซึ่งวัฏจักรดังกล่าวนี้ที่พบได้ในธรรมชาตก็ิคือ ขบวนการเกิดฝนนั่นเอง
เนื่องจากกว่าน้ำจะระเหยกลายเป็นไอได้นั้นต้องผ่านความร้อนเป็นเวลานาน เพราะฉะนั้นน้ำที่กลั่นได้จึงปราศจากเชื้อโรคเนื่องจากเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆไม่สามารถทนความร้อนสูง เป็นเวลานานๆได้
ถ้าหากคุณเคยดื่มน้ำกลั่นจะพบว่าน้ำกลั่นเป็นน้ำที่ไม่มีรสชาติ เนื่องจากในขบวนการกลั่นนั้นเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสถานะของน้ำ เมื่อน้ำมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเท่านั้น ไม่มีการเติมหรือใช้สารเคมีแต่อย่างใด
การดื่มน้ำกลั่นจะช่วยให้ขบวนการขับสารพิษออกจากเซลล์ และร่างกายเป็นไปได้รวดเร็วขึ้น ทำให้สารพิษและของเสียที่ตกค้างในร่างกายของคุณลดน้อยลง ดังนั้นการดื่มน้ำกลั่นจึงเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยให้สุขภาพของคุณดีขึ้น

วันเสาร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2556

Potato dextrose agar




Potato dextrose agar (BAM Media M127) และ potato dextrose broth เป็นอาหารเลี้ยงเชื้อที่ประกอบด้วยมันฝรั่งและน้ำตาลเดกโทรส Potato dextrose agar (ตัวย่อ "PDA") นิยมใช้สำหรับเลี้ยงเชื้อราและแบคทีเรียที่ที่ก่อโรคพืชหรือย่อยสลายซากพืช มันฝรั่งที่ใช้ในอาหารจะถูกหั่นเป็นชิ้นบางๆ 300 กรัม ต้มในน้ำ 30 นาที กรองแล้วจึงใส่ในอาหาร เติมเดกโทรส และวุ้นอย่างละ 20 กรัม แล้วจึงนำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่ความดัน 15 psi 15 นาที  ส่วน Potato dextrose broth (ตัวย่อ "PDB") ทำเช่นเดียวกันแต่ไม่ต้องเติมวุ้น ตัวอย่างจุลินทรีย์ที่นิยมเลี้ยงด้วยอาหารนี้ได้แก่ Candida albicans และ Saccharomyces cerevisiae เชื้อราเช่น Aspergillus niger

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เชื้อรา



Aspergillus เป็นสกุลขอรามีสมาชิกประมาณ 200-300 ชนิดในธรรมชาติ Aspergillus พบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2272 โดย Pier Antonio Micheli ชาวอิตาลีที่ดูเชื้อราด้วยกล้องจุลทรรศน์ Micheli เห็นว่ารูปร่างของราเหมือนน้ำพุจึงตั้งชื่อตามรูปร่างนั้น  ในปัจจุบัน "aspergillum" เป็นชื่อของราที่ผลิตสปอร์แบบไม่อาศัยเพศ ในขณะที่ 1 ใน 3 ของสปีชีส์ทั้งหมดมีระยะที่มีเพศ